แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา


แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา


    จากขั้นพัฒนาการต่าง ๆ ที่บรูเนอร์เสนอไว้ ได้นำไปสู่แนวความคิดในการจัดการศึกษาในระดับต่าง ๆ ดังนี้

- ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น

     บรูเนอร์เห็นว่า เด็กวัยอนุบาลอยู่ในระดับ Iconic representation ซึ่งการเรียนรู้ต่างๆ อยู่ในลักษณะของการกระทำ โดยผ่านประสบการณ์ที่ได้พบเห็นและการรับรู้ต่างๆ นอกจากนี้เขากล่าวว่า เด็กวัยนี้ไม่สามารถรออะไรได้นานๆ เราควรสนองความพึงพอใจให้กับเด็กอย่างทันท่วงที ที่ทำงานแต่ละครั้งเสร็จ

    บรูเนอร์ยังได้เสนออีกว่า ในการสอนเด็กระดับนี้ควรให้มีบรรยากาศของความสนุกสนาน ผ่อนปรน ไม่ตึงเครียด และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจ

    เด็กประถมต้นยังอยู่ในวัย Iconic representation เด็กวัยนี้สามารถสร้างภาพในใจได้ บรูเนอร์ได้นำการทดลองของเปียเจท์ เกี่ยวกับการรินน้ำมาใช้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า เด็กสามารถสร้างภาพในใจได้ และสามารถที่จะกระตุ้นให้อธิบายความคิดออกมาได้

    ความคิดของบรูเนอร์เกี่ยวกับเด็กวัยนี้ คือ ยังต้องการการสนองความพึงพอใจอย่างทันท่วงทีภายหลังที่ทำงานเสร็จ และบรรยากาศที่ผ่อนปรนไม่ตรึงเครียดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

                   

- ระดับประถมปลาย

    บรูเนอร์ กล่าวว่า เด็กในระดับประถมปลายมีการพัฒนาจาก  Iconic representation ไป สู่ Symbolic representation ซึ่งสิ่งที่บรูเนอร์เน้นนี้คล้ายคลึงกับแนวความคิดของเปียเจท์ในหลักการทั่วไป แต่ต่างกันในเรื่องต่อไปนี้

    “พัฒนาการทางสติปัญญา จะแสดงให้เห็นจากการที่เด็กสามารถเลือกจากตัวเลือกหลาย ๆ ตัว ในเวลาเดียวกัน และสามารถแบ่งเวลาและความสนใจได้อย่างเหมาะสมกับตัวเลือกนั้น ๆ”

    

- ระดับมัธยมศึกษา

    การใช้สัญลักษณ์ (Symbolic representation) ของเด็กวัยนี้ เป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น ครูมีวิธีช่วยให้พัฒนาขึ้นไปอีก โดยกระตุ้นให้ใช้ discovery approach โดยเน้นความเข้าใจใน concept และสิ่งที่เป็นนามธรรมต่าง ๆ


     โรงเรียนที่ดีจะต้องสนับสนุนกิจกรรมของเด็ก รวมทั้งการสำรวจและการได้ลงมือกระทำของเขาด้วย ถ้าครูพยายามที่จะใช้วิธีลัด โดยวิธีบอกหรือป้อนความรู้ให้แก่เด็กด้วยการพูดอธิบายให้ฟังผล ก็คือเด็กจะเรียนรู้อย่างผิวเผินเท่านั้น แต่การจัดกิจกรรมขึ้นในห้องเรียน ครูจะสามารถยั่วยุให้เด็กใช้ความสามารถที่มีในตัวให้เกิดการเรียนรู้ และทำให้เด็กได้มีความเข้าใจโลกรอบๆ ตัวเขาอย่างค่อยเป็นค่อยไป งานที่สำคัญของครูคือ การเตรียมอุปกรณ์ที่น่าสนใจต่างๆ ที่จะยั่วยุให้เด็กได้ใช้ความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัว ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ครูไม่ควรมุ่งแต่จะสอน แต่ควสนับสนุนให้เด็กเรียน โดยการได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ได้หยิบโน่นจับนี่ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนด้วยตนเอง




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์

ประวัติ เจอโรม บรูเนอร์ (Jerome S. Bruner)