บทความ

ประวัติ เจอโรม บรูเนอร์ (Jerome S. Bruner)

รูปภาพ
  ประวัติ เจอโรม บรูเนอร์  (Jerome S. Bruner )       เจอโรม บรูเนอร์   เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ที่ทำผลงานอย่างมีนัยสำคัญต่อมนุษย์จิตวิทยองค์และองค์ความรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ในด้านจิตวิทยาการศึกษา บรูเนอร์ ใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตของเขาเพื่ออุทิศให้กับการวิจัยทางจิตวิทยา มุ่งเน้นไปที่การค้นพบว่าจิตใจของมนุษย์คิดยังไง รวมทั้งเคยเป็นศาสตราจารย์ที่มีชื่อเสียงในมหาวิทยาลัยสำคัญ ๆ ในสหรัฐอเมริกา      บรูเนอร์เป็นนักวิจัยอาวุโสที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กโรงเรียนกฎหมาย เขาได้รับปริญญาตรีในปี 2480 จากมหาวิทยาลัยดุ๊กและปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี พ.ศ. 2484  เขาสอนและทำงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก     Review of General Psychology survey ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2002 จัดอันดับให้ Bruner เป็นนักจิตวิทยาที่ถูกอ้างถึงมากที่สุดอันดับที่ 28 ของศตวรรษที่ 20  • เกิด  : 1 ตุลาคม 2458  New York City , สหรัฐอเมริกา • เสียชีวิต : 5 มิถุนายน 2559 (อายุ 100 ปี) แมนฮัตตัน นิวยอร์กซิตี้นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา • สัญชาติ   : อเมริกัน                                     

ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์

รูปภาพ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์      บรูเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่า มนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และ การเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)  แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของบรุนเนอร์ มีดังนี้ 1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก  2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ  3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระ ที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้  4) แรงจูงใจภายใน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้  5)   การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด  หรือ สามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม  6)  การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning) 7)  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาขอ

แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา

รูปภาพ
แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา      จากขั้นพัฒนาการต่าง ๆ ที่บรูเนอร์เสนอไว้ ได้นำไปสู่แนวความคิดในการจัดการศึกษาในระดับต่าง ๆ ดังนี้ - ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น      บรูเนอร์เห็นว่า เด็กวัยอนุบาลอยู่ในระดับ Iconic representation ซึ่งการเรียนรู้ต่างๆ อยู่ในลักษณะของการกระทำ โดยผ่านประสบการณ์ที่ได้พบเห็นและการรับรู้ต่างๆ นอกจากนี้เขากล่าวว่า เด็กวัยนี้ไม่สามารถรออะไรได้นานๆ เราควรสนองความพึงพอใจให้กับเด็กอย่างทันท่วงที ที่ทำงานแต่ละครั้งเสร็จ     บรูเนอร์ยังได้เสนออีกว่า ในการสอนเด็กระดับนี้ควรให้มีบรรยากาศของความสนุกสนาน ผ่อนปรน ไม่ตึงเครียด และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจ     เด็กประถมต้นยังอยู่ในวัย Iconic representation เด็กวัยนี้สามารถสร้างภาพในใจได้ บรูเนอร์ได้นำการทดลองของเปียเจท์ เกี่ยวกับการรินน้ำมาใช้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า เด็กสามารถสร้างภาพในใจได้ และสามารถที่จะกระตุ้นให้อธิบายความคิดออกมาได้     ความคิดของบรูเนอร์เกี่ยวกับเด็กวัยนี้ คือ ยังต้องการการสนองความพึงพอใจอย่างทันท่วงทีภายหลังที่ทำงานเสร็จ และบรรยากาศที่ผ่อนปรนไม่ตร

แนวทางในการจัดการเรียนการสอน

รูปภาพ
  แนวทางในการจัดการเรียนการสอน      บรูเนอร์ได้กล่าวถึงทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอนว่า ควรประกอบด้วยลักษณะสำคัญ  4 ประการ คือ 1  ผู้เรียนต้อง มีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็น สิ่งต่างๆรอบตัว 2  โครงสร้างของบทเรียน ซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน 3  การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียน โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน 4  การเสริมแรงของผู้เรียน     บรูเนอร์ได้เสนอว่า ในการจัดการศึกษาควรคำนึงถึง การเชื่อมโยง ทฤษฎีพัฒนาการ ทฤษฎีความรู้ และทฤษฎีการสอน เพราะการจัดเนื้อหาและวิธีการสอนจะต้องคำนึงถึงพัฒนาการ และปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับความสามารถในการคิด หรือการรับรู้ การใช้ภาษาที่เหมาะสม รวมถึงการ เลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน     บรูเนอร์เชื่อว่า ครูสามารถช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมได้โดย ไม่ต้องรอเวลา ดังที่บรูเนอร์กล่าวไว้ว่า "วิชาใดๆก็ตาม สามารถที่จะสอนให้เด็กในทุกช่วงพัฒนาการ ให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม"     ซึ่งแนวคิดดังกล่าว บรูเนอร์ได้เสนอว่า การจัดการเรียนการสอนควรมีการจัดเนื้อหาวิชา ที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื

การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอนของบรุนเนอร์

รูปภาพ
  การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอนของบรุนเนอร์      1. กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดี มีความหมายสำหรับผู้เรียน      2. การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสม เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน      3. การจัด หลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหา หรือ ความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้  โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอด และวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน      4. ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มาก เพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน      5. การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน      6. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี      7. การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น      8. การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี